หน้าเเรก

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อยากเก่งเรื่องการเขียน(อังกฤษ) ทำอย่างไร


ดิฉันแน่ใจว่าคุณจะต้องเคยอ่านเคยฟังวิธีฝึกมาหลายแง่หลายมุม แล้วแต่ละที่ก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับฉันเองฉันฝึกแบบนี้ค่ะ



ข้อ ศูนย์เลย และสำคัญมากๆๆ คือต้องรักก่อนค่ะ ต้องรักที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ถ้าไม่รักด่านแรก (คือข้อถัดจากนี้) ก็ไม่ผ่านหรือว่าผ่านไปได้ยากมากค่ะ ฉันชอบวิธีที่ครูเคทเขียนในหนังสือเกี่ยวกับจุดนี้คือ สร้างแรงบันดาลใจก่อนว่าเราจะเรียนภาษาเพื่ออะไร เพื่อให้ได้งานที่ดีกว่า เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อให้โก้เก๋ แล้วเก็บแรงบันดาลใจไว้ตลอดเวลาค่ะ

ข้อ แรก เริ่มจากแกรมม่าร์และศัพท์ค่ะ ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการเขียน แต่ไม่ได้หมายถึงว่าต้องรู้แกรมม่าร์แบบนักภาษาศาสตร์ (แต่แน่นอนถ้าได้ก็ดีค่ะ) ดิฉันหมายถึงพอรู้ในระดับหนึ่ง (ม. ปลายเมืองไทย) และศัพท์ก็ควรรู้บ้าง ในระดับม. ปลายอีกเช่นกัน

แต่ รู้แกรมม่าร์อย่างเดียว ให้ตายยังไงก็เขียนไม่ได้(ดี)ค่ะ ดิฉันเจอปัญหานี้มาก่อน ดิฉันเรียนแกรมม่าร์มา ดิฉันแค่จะบอกว่าแกรมม่าร์ต้องดีระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าอยากเขียนได้ดี) แต่พออาจารย์ให้เขียน ดิฉันกลับเขียนไม่ออก แล้วยังเขียนผิดแกรมม่าร์อีกเยอะมาก

ที่ เป็นแบบนี้เพราะว่า ระหว่างเขียนแกรมม่าร์ไม่ใช่เรื่องเดียวที่นักเขียนเป็นห่วง ดังนั้นนักเขียนอาจจะเสียสมาธิไปกับเรื่องอื่นๆ จนไม่ได้สนใจแกรมม่าร์เลย (นี่ แหละค่ะสาเหตุที่ผมว่าทำไมแกรมม่าร์ต้องดี ถ้าแกรมม่าร์ดีแล้ว คุณก็ตัดความกังวลไปได้หนึ่งอย่างระหว่างเขียน เหมือนเวลาเราเขียนภาษาไทยครับ คุณไม่เคยกังวลว่าจะเขียนถูกหลักไวยกรณ์หรือเปล่า (เพราะ ว่าคุณมีความรู้เรื่องไวยกรณ์ไทยแล้ว) แต่สิ่งที่คุณกังวลคือ สิ่งที่คุณส่งให้คนอ่าน ดังนั้นในการเขียนอังกฤษเช่นกัน ฝึกแกรมม่าร์ให้แม่น เพื่อที่คุณจะได้ไปกังวลกับตัวสารที่คุณต้องการส่งให้คนอ่านค่ะ)

ข้อ สอง อ่านเยอะๆ ค่ะ แต่อย่าอ่านเปล่า ต้องอ่านแบบนักเขียน นั่นคือ เวลาอ่านก็สังเกตว่าศัพท์ตัวไหนใช้ยังไง นักเขียนคนนี้จบย่อหน้ายังไง นักเขียนคนนี้เปลี่ยนเรื่องคุยระหว่างย่อหน้ายังไง เป็นต้น

ข้อ สาม ไปเรียนค่ะ การเขียนเป็นเรื่องที่ฝึกได้ แต่หลังจากที่เราพอมีพื้นฐานมาแล้วเท่านั้น ถ้าเรายังไม่มีพื้นฐาน เราต้องเรียนเพื่อให้รู้ถึงเทคนิคต่างๆ และอีกอย่างการเรียนหมายถึง การมีคนตรวจงานเขียนให้ เรียนที่ไหน? ดิฉันต้องบอกว่าต้องถามตัวคุณเองว่าคุณอยากเขียนได้แบบไหน

เขียนได้แบบสอบผ่าน -- ก็เรียนตามสถาบันกวดวิชาเพื่อเตรียมตัวสอบทั่วไป
เขียนได้แบบใช้งานได้จริง -- เรียนในที่ที่เข้าสอนให้ใช้งานได้จริงๆ (คือ ไม่ใช่พวกคอร์สเตรียมตัวสอบ)

ข้อ สี่ ฝึกคิด งานเขียนที่ดี เกิดจากความคิดที่ดี นักเขียนต้องคิดเยอะค่ะ คิดแล้วต้องฝึกประมวล/สรุปความคิด เช่น เพื่อนคุณสามคนไปดูหนังมาเรื่องเดียวกัน แต่ว่าแต่ละคนมารีวิวให้คุณฟังต่างกันหมด แล้วผมถามคุณว่าไหนคุณบอกหน่อยดิว่า review หนังเรื่องนี้เป็นยังไง? สังเกตนะคะผมดิฉันไม่ได้ถามคุณว่า "เพื่อนแต่ละคน review หนังยังไง" ทีนี้แหละ คุณต้องประมวลรีวิวทั้งสามออกมาเป็นเรื่องๆ เดียว (สาม เป็น หนึ่ง) นี่แหละค่ะ เป็นงานหนึ่งของนักเขียน

ข้อห้า ข้อนี้ดูเหมือนจะไกลตัว และเป็นอุดมคติไปหน่อย แต่ก็แนะนำทุกคนที่มาปรึกษาเสมอว่า ต้องอ่านทฤษฎีการเขียน (theory of composition)  เพราะมันทำให้รู้ว่านักเขียนคิดหรือว่ามองโลกยังไง มองการเขียน (writing process) ยังไง เป็นต้น

ข้อ หก เป็นคำแนะนำจากพี่ บอกว่า ถ้าอยากเก่ง ก็ต้องเรียนเอกอังกฤษ  แต่ก็รู้ว่าความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกันแน่นอน แต่ถ้าคุณเรียนเอกอังกฤษอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นโชคดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น